ปางที่ ๓๑
ตีลีนีปางที่ ๓๑ |
ภาคนิรมาณกาย.....พระโพธิสัตว์ประทับบนพญาราชสีห์ เพื่อลงมาทดสอบการศึกษาพระธรรมของเหล่ามนุษย์
คำแปล.....ตี แปลว่า โลก....ลี แปลว่า สัตว์ทั้งหลายสามารถรับการโปรดจากพระโพธิสัตว์ได้....นี แปลว่าพรหมจาริณีที่ประพฤติปฏิบัติธรรมอยู่
อรรถ......อธิบายว่า ถ้าผู้บำเพ็ญเพียร มีจิตมุ่งมั่นที่จะปฏิบัติแล้ว พระพุทธเจ้า, เหล่าทวยเทพทั้งหลายและพญานาคราชจะคุ้มครองท่าน....พระโพธิสัตว์จะนิรมิตกายเป็น ๔๐ กร เพื่อปราบพวกหมู่มารที่มาขัดขวางการสร้างกุศล เพื่อให้ทุกท่านได้ก้าวข้ามห้วงโอฆะ โดยเฉพาะผู้ประพฤติปฏิบัติธรรมที่เป็นสตรีเพศ ควรเร่งรีบบำเพ็ญเพียร เพื่อมิให้เสียความตั้งใจอันดีของพระโพธิสัตว์ ในการที่จะโปรดให้บรรลุธรรม จนถึงเข้าสู่แดนสุขาวดี
.....................................................................................................................................................
สึดฮูลาเย
ปางที่ ๓๒ |
ภาคนิรมาณกาย.....พระคำรามโพธิสัตว์ พระหัตถ์ถือคทาทองเป็นศาสตราวุธ
คำแปล.....สึดฮูลาเย แปลว่า เมื่อปฏิบัติธรรม จนกระทั่งเข้าถึงความสมบูรณ์แห่งสภาวะเดิมแล้ว จะมีความสว่างปรากฏในกายของตน
อรรถ....อธิบายว่า พระโพธิสัตว์ได้ประกาศความยอดเยี่ยมของพระธรรม หวังว่าจะให้ทุกท่านได้เข้าถึงองค์มรรค ผู้ที่สามารถปล่อยวางสภาวะทางโลกได้ ไม่ก่อเรื่องเดือดร้อนยุ่งยาก อันเต็มไปด้วยอกุศล จิตใจย่อมมีความสงบ สะอาด สามารถสำเร็จเป็นพุทธอันพิสุทธิ์ผ่องใสเปล่งปลั่งด้วยรัศมี นอกจากนั้นยังสามารถปรากฏกายไปแสดงธรรมได้ทุกหนทุกแห่ง เพื่อทำการโปรดสัตว์สืบต่อไปได้ด้วย
..............................................................................................................................................
ปางที่ ๓๓
เจลาเจลา
ปางที่ ๓๓ |
ภาคนิรมาณกาย.....พระหักหาญโพธิสัตว์มือถือสุวรรณจักร เพื่อโปรดหมู่มารให้มานอบน้อมต่อพระพุทธศาสนา
คำแปล.....เจลาเจลา แปลว่า ความโกรธ,ดุ สุรเสียงที่เปล่งออกมาดุจเสียงคำรามของฟ้ากระหึ่มไปทั่วสารทิศ
อรรถ.....อธิบายว่า พระโพธิสัตว์เล็งเห็นว่า สรรพสัตว์ถูกจูงไปตามหมู่มาร จึงไม่สามารถที่จะหลุดพ้นได้ พระโพธิสัตว์จึงได่แสดงความเกรี้ยวกราด เพื่อโปรดสัตว์เหล่านั้นให้หลุดพ้น และเป็นการเตือนผู้ปฏิบัติ ให้ประพฤติปฏิบัติด้วยความมีสัจจะ....มารในที่นี้ หมายถึง ความโกรธ ความโลภ ความหลง ขิงตนเอง....ดังนั้นจึงควรฟังพระสัทธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อละความเห็นผิด พระธรรมเปรียบเสมือนเสียงฟ้าคำราม ดังไปทั่วสารทิศ เป็นเสียงแห่งพรหม เมื่อเหล่ามารได้ยินศัพท์สำเนียงนี้ก็จะเกิดความสะดุ้งกลัวต่ออกุศล
..............................................................................................................................................