Translate

วันเสาร์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

พระคาถามหากรุณาธาณีสูตร (ตอน ๘)


ปางที่ ๒๕
มอลามอลา


ปางที่ ๒๕

ภาคนิรมาณกาย....พระโพธิสัตว์ทรงนิรมาณกาย  เป็นพระปัณฑรวาสินีโพธิสัตว์  มือซ้ายทรงจับเด็ก แสดงว่าพระองค์ทรงโปรดสัตว์โลก ให้พรแก่สัตว์โลกทั้งหลายให้มีอายุยั่งยืนนาน เพื่อสร้างกรรมดี

ความหมาย...."มอลา"  (คำที่ ๑) แปลว่า ผู้ปฏิบัติธรรมจะมีใจใสสว่างดังแก้วมณี...."มอลา" (คำที่ ๒) แปลว่า  แก้วมณีนี้มีความใสสะอาดสว่างไม่มีสิ่งใดทำให้มัวหมอง

อรรถว่า....อธิบายว่า  หากผู้ปฏิบัติธรรมปรารถนา ที่จะได้ดวงมณี ก็จะต้องเพียรพร่ำสาธยายมนตราบทนี้ หากมีความนึกคิดใด ๆ เกิดแก่จิต ต้องกำจัดให้สิ้นไป....จิตนี้เป็นใหญ่ เป็นประธานในการรู้แจ้งอารมณ์  จิตรู้กุศลและอกุศล...ดังนั้นผู้ปฏิบัติจึงต้องเพียรขจัดอกุศลจิต อันได้แก่ ความคิดฟุ้งซ่าน  ระงับความวิกกังวล
เพียรศึกษาและฟังธรรม เพื่อขัดเกลาอายตนะภายในของตนให้สะอาดบริสุทธิ์ ดุจดังแก้วมณี 

..........................................................................................................................................

ปางที่ ๒๖
มอซีมอซี ลีถ่อยิน

ปางที่ ๒๖

ภาคนิรมาณกาย....พระโพธิสัตว์ทรงนิรมาณกาย เป็นพระอมิตพุทธ (เมื่อดับขันธ์แล้ว ไปปฏิสนธิในแดนสุขาวดี)

ความหมาย...."มอซี"  แปลว่า  ความมีอิสระทันที คือขณะที่ปฏิบัติธรรม ผู้ปฏิบัติมีความอิสระจากสิ่งเกี่ยวข้องทั้งปวง เป็นอิสระจากความนึกคิดต่าง ๆ เป็นอิสระจากกิเลส...."ลีถ่อยิน"  แปลว่า  กาปฏิบัติจนกระทั่งประสบความสำเร็จวิชาธรรมกาย จะมีอาสนะเป็นดอกบัวรองรับ

อรรถว่า.....อธิบายว่า พระโพธิสัตว์ปรารถนาที่จะให้มนุษย์เร่งในการปฏิบัติธรรมตามทางแห่งมรรคโดยเป็นปรกติ  ผู้ที่มีความสงบจากกิเลส  จะเป็นผู้มีความสะอาดกายและสะอาดใจ  เมื่อลงมือปฏิบัติย่อมจะสามารถบรรุลุมรรคผลได้ และสามารถดำรงมรรคผลอยู่เช่นนั้น โดยไม่เสื่อมคลาย  แต่มนุษย์ทั้งหลายส่วนใหญ่มักจะยินดีพอใจและยึดมั่นอยู่ในลาภ ยศ สรรเสริญ โภคทรัพย์  ติดข้องอยูกับกามคุณ จึงขาดโอกาสอันเลิศที่จะสำเร็จเป็นอริยบุคคลชั้นสูงสุดได้

...............................................................................................................................................

ปางที่ ๒๗
กีลู กีลู กิตมง

ปางที่ ๒๗

ภาคนิรมาณกาย....พระโพธิสัตว์ทรงนิรมาณกาย เป็นอากาศกายโพธิสัตว์  นำทัพหมู่ทวยเทพยดาจำนวนหมื่นโกฏิ เพื่อไปทำการโปรดสรรพสัตว์

ความหมาย...."กีลู"  แปลว่า  การปฏิบัติธรรมจะเป็นปัจจัย ให้เทพยดามาปกปักรักษาคุ้มครอง....."กิตมง"  แปลว่า  ผู้ปฏิบัตธรรมจะต้องสะสมบุญบารมี  เพื่อเป็นพื้นฐานในการอบรมเจริญมรรค  อันเป็นทางดำเนินสู่ความบรรลุมรรค ผล นิพพาน

อรรถว่า....อธิบายว่า  พระโพธิสัตว์ทรงตักเตือนผู้ปฏิบัติธรรมว่า  เพียงแต่มีจิตอันเป็นกุศลเท่านั้น  เทพเจ้าฝ่ายกุศลก็จะติดตามคุ้มครองและอำนวยพร ให้ท่านผู้นั้นประสบความสำเร็จผล  การสะสมบุญบารมีด้วยจิตที่แน่วแน่ตั้งมั่น ไม่คลอนแคลน ย่อมจะได้พระธรรมกายอันประกอบด้วยกุศลจิต

..............................................................................................................................................

วันพุธที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

พระคาถามหากรุณาธารณีสูตร (ตอน ๗)

ปางที่ ๒๑
เกียหล่อตี

ปางที่ ๒๑

ภาคนิรมาณกาย.....พระโพธิสัตว์ได้ทรงนิรมาณกายเป็นเทพเจ้า เพื่อที่จะได้โปรดสรรพสัตว์ทั้งหลาาย

คำแปล...."เกียหล่อตี"  แปลว่า ผูมีความกรุณา, ผู้ปลดเปลื้องทุกข์, ผู้มีจิตตั้งมั่นอยู่ในธรรม เป็นผู้ทรงอยู่ในมรรคอย่างมั่นคง มีสติและปัญญาเฉียบแหลมยิ่ง

อรรถว่า....พระโพธิสัตว์ทรงตั้งมั่นอยู่ในพระมหาเมตตาจิต มีพระมหากรุณาจิต ชักชวนให้มนุษย์ทั้งหลายอบรมเจริญความสงบของจิต หมั่นสะสมแต่กุศลจิตเพื่อละอกุศลจิตทั้งหลาย

.............................................................................................................................................

ปางที่ ๒๒
อีซีหลี่

ปางที่ ๒๒

ภาคนิรมาณกาย....พระโพธิสัตว์ได้ทรงนิรมาณกายของพระองค์เป็น "เทพมเหศวร"  ประทับอยู่บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์  นำทัพเทพเทวามาโปรดหมู่สรรพสัตว์ทั้งหลายให้พ้นจากความทุกข์

คำแปล...."อีซีหลี่" แปลว่า กระทำตามโอวาทของพระองค์ อย่าได้มีความเห็นผิด

อรรถว่า....พระโพธิสัตว์ผู้ทรงตั้งมั่นอยู่ในความเมตตากรุณา ได้เกื้อกูลอำนวยประโยชน์สุขแก่มนุษย์และสรรพสัตว์ทั้งหลายทุกหมู่เหล่า  พระองค์ได้ทรงอบรมสั่งสอนให้มนุษย์และสรรพสัตว์ทั้งหลาย เดินตามแห่งวิสุทธิมรรค เมื่อผู้ใดมีความทุกข์และขอความช่วยเหลือจากพระองค์.....พระองค์ได้ยินเสียงขอร้องจากผู้นั้น ก็จะไปโปรดตามเสียงที่ร้องขอทันที

.............................................................................................................................................
ปางที่ ๒๓
หม่อฮอผู่ทีสัตตอ


ปางที่ ๒๓

ภาคนิรมาณกาย....เป็นพระโพธิสัตว์ผู้มีพระมหาเมตตากรุณาอย่าหาที่เปรียบมิได้ ความเมตตากรุณาของพระองค์อันบริสุทธิ์เป็นพระคาถาซึ่งมีความเป็นอนัตตา

คำแปล...."หม่อฮอ"  แปลว่า  พระธรรมคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามีมากมาย  ผู้ปฏิบัติทุกท่านควรเลือกน้อมนำไปประพฤติปฏิบัติ...."ผู่ที"   แปลว่า  โลกนี้เป็นความว่างเปล่าหรือเป็นความสูญ....."สัตตอ"
แปลว่า  การมุ่งเน้นการปฏิบัติตามหลักอนัตตา หรือการเห็นธรรมทั้งหลายเป็นความว่างหรือความสูญ

อรรถว่า....พระโพธิสัตว์ได้มุ่งเน้นให้เห็นว่า ผู้ประพฤติปฏิบัติต้องมองโลกธรรมทั้งหลายว่าเป็นความว่างหรือความสูญ ให้เห็นเป็นเพียงเงา หรือภาพลวงเท่านั้น พยายามทำจิตใจให้สะอาดหมดจด  โดยเฉพาะผู้ที่เริ่มศึกษาปฏิบัติธรรม   จะต้องมีจิตตั้งมั่นในการที่ปฏิบัติเพื่อออกจากห้องแห่งกิเลสหรือความทุกข์ทั้งปวง

.............................................................................................................................................

ปางที่ ๒๔
สัตพอสัตพอ


ปางที่ ๒๔

ภาคนิรมาณกาย....พระองค์ได้ทรงนิรมาณกายเป็น "คนธาลัยโพธิสัตว์" นำกองทัพภูตผี ๕ ทิศ และผู้ติดตามไปโปรดสรรพสัตว์ทั้งหลาย

คำแปล...."สัตตอ"  แปลว่า  พระธรรมมีความเสมอภาคทั้งมวล  พระธรรมเกื้อกูลต่อสัตว์โลกให้ได้รับประโยชน์สุข......ผู้ที่ได้สะสมกุศลกรรมอันเป็นเหตุปัจจัยไว้แล้วแต่ปางก่อน  ย่อมจะได้เสวยสุขอันเป็นผลแห่งกุศลกรรมนั้น

อรรถว่า....พระโพธิสัตว์ได้ปรากฏเป็นลักษณะที่เป็นอาจิณตรัย พระองค์ทรงโปรดสรรพสัตว์ทั้งหลายให้มีความสุข  ทรงให้การอบรมสั่งสอนแก่มนุษย์ ชี้แนะการปฏิบัติธรรมเพื่อความพ้นทุกข์  เน้นให้มีความอดทนมีความขยันหมั่นเพียรอย่างไม่เบื่อหน่าย ละความลังเลสงสัย (วิจิกิจฉา) ไม่หวั่นไหวต่ออารมณ์ต่าง ๆ ที่มากระทบ ให้เพียรอบรมเจริญสติอยู่เนื่อง ๆ  สักวันหนึ่งก็จะหลุดพ้นจากความทุกข์ทั้งปวงได้

................................................................................................................................................

วันอาทิตย์ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2554

พระคาถามหากรุณาธารณีสูตร (ตอน ๖)

ปางที่ ๑๗
มอฮัวเตอเตา

ปางที่ ๑๗

ภาคนิรมาณกาย...พระองค์ได้นิรมาณกายเป็นปกุนตาลี มือขวาถือจักรมือซ้ายถือบวงบาศก์เป็นอาวุธ มีดวงตา ๓ ดวง

คำแปล...."มอฮัวเตอเตา"  แปลว่า ปัญญาเป็นเครื่องดับกิเลส

อรรถว่า.....พระธรรมกายปางนี้  มีหน้าที่คอยตักเตือนให้ผู้ปฏิบัติถือพระสัทธรรมเป็นความว่างเปล่า ไม่ยึดมั่นในรูป ไม่ยึดในจิตหรือนาม  ถือเอาพระสัทธรรมเป็นใหญ่  ละความวิตกกังวล ละความสงสัย (วิจิกิจฉา)ในพระสัทธรรม ขจัดกิเลสทั้งปวง โดยใช้ปัญญาประหารกิเลส จิตมีความสงบก็จะอยู่บนโลกได้อย่างมีความสุข

.........................................................................................................................................

ปางที่  ๑๘
ตันจิตทอ
ปางที่ ๑๘

ภาคนิรมาณกาย....พระองค์ได้นริมาณกายเป็นพระอรหันต์

คำแปล...."ตันจิตทอ"  แปลว่า  เป็นนามของพระโพธิสัตว์ทรงมีมหากรุณาจิต  มนต์คาถา พีชะ ปัญญาจักษุ เป็นทางแห่งการเข้าถึงพระธรรมต่าง ๆ

อรรถว่า.....ความศรัทธาแน่วแน่ตั้งมั่นอย่างต่อเนื่อง จะยังผลให้จิตมีความเห็นตรงตามหลักแห่งพระธรรม   จิตไม่คิดไปในทางโลกอันเป็นเหตุให้เกิดความขัดแย้งกับพระธรรม ซึ่งจะทำให้จิตไม่สามารถเป็นสุขได้

...........................................................................................................................................

ปางที่ ๑๙
งัน ออผ่อลูซี

ปางที่ ๑๙
ภาคนิรมาณกาย.....พระโพธิสัตว์ทรงนิรมาณกาย  ประทับนั่งพนมมืออยู่ระหว่างทรวงอก  พระเนตรฉายแสงแห่งพระมหาเมตตากรุณาอย่างเปี่ยมล้น ทรงประทานความสุขและปลดเปลื้องความทุกข์ ให้แก่สรรพสัตว์ทั้งหลาย

คำแปล....."งัน "  แปลว่า   โอม หมายถึงนอบน้อมเป็นบทนำ...."ออผ่อลูซี"   แปลว่า   เป็นพระโพธิสัตว์...... และพระธรรมคือ เครื่องกำจัดทุกข์  เป็นเครื่องขัดเกลาจิตใจให้สะอาดหมดจด บริสุทธิ์ไร้ราคะ

อรรถว่า....ผู้ปฏิบัติธรรมจะต้องมีจิตใจที่ตั้งมั่นแน่วแน่  ไม่หวั่นไหวต่อการกลั่นแกล้งของหมู่มารที่คอยขัดขวางการทำความดี  (มารในที่นี้หมายถึง "กิเลส"ทั้งปวง) ให้พยายามสำรวมกาย วาจา ใจ  ไม่ยึดติดในโลกียวิสัยทั้งสิ้น  ย่อมจะเข้าสู่สภาวะดั้งเดิมของจิตตามธรรมชาติ  มีความสงบอยู่ทุกขณะ ทุกอิริยาบถ เพียรเจริญอยู่เนื่อง ๆ  ก็จะสามารถถึงความสำเร็จในพระอริยสัจจธรรมได้โดยไม่รู้ตัว   พระสัมมาสัมพุทธเจ้า และพระโพธิสัตว์ทั้งหลาย  พระองค์ได้ทรงหลุดพ้นจากกิเลส  ก็ในขณะที่ทรงอยู่บนโลกมนุษย์อันเต็มไปด้วยกิเลสมากมาย

............................................................................................................................................

ปางที่ ๒๐
ลูเกียตี

ปางที่ ๒๐
ภาคนิรมาณกาย.....พระองค์ทรงนิรมาณกาย  เป็นพระมหาพรหมเทพราช

คำแปล....."ลูเกียตี"  แปลว่า  มีความเป็นอิสระ  เป็นโลกนาถ มีกุศลจิตเป็นจิตที่บริสุทธิ์ ไม่มัวหมอง มีรัศมีรอบกาย  และสามารถกลมกลืนกับดินฟ้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

อรรถว่า....พระโพธิสัตว์ตักเตือนสรรพสัตว์ทั้งหลาย  ให้รักษากุศลจิตไว้ อย่าทำลายตนเอง ให้ระมัดระวังกายและจิตขณะที่สาธยายมนตราอยู่  ผู้ปฏิบัติจะต้องไม่่หลงผิดเป็นชอบ มีสติคุ้มครองใจเสมอ

.............................................................................................................................................