ปางที่ ๔
ผู่ที สัตตอ ผ่อเย
ปางที่ ๔ |
หมายความว่า ขอนอบน้อมคารวะ ต่อท่านผู้ให้ความรู้แจ้งแก่สรรพสัตว์ พระองค์ได้ทรงตักเตือนสัตว์โลกทั้งหลาย ให้ตื่นจากการหลงมัวเมาอยู่กับกามคุณ ๕ อันมีอวิชชาคือความไม่รู้ตามความเป็นจริง ให้พากันหันมาสู่ทางแห่งความดับทุกข์ อันคือมรรคเป็นเส้นทางสู่ธารณี ตั้งมั่นในพระธรรม แล้วน้อมเข้ามาใส่ตน เห็นความสว่างในสภาะเดิม อันนำมาซึ่งความหลุดพ้น
..............................................................................................................................................
ปางที่ ๕
หม่อฮอ สัตตอ ผ่อเย
ปางที่ ๕ |
หมายความว่า เมื่อได้น้อมคารวะต่อผู้กล้าหาญ ก็จะมีโอกาสที่จะหลุดพ้นได้ ท่านทั้งหลายผู้อยู่ในโลกอันกว้างใหญ่นี้ ถ้าระลึกรู้ตัวแล้วลงมือปฏิบัติ ก็จะถึงความหลุดพ้นได้ พระโพธิสัตว์เป็นผู้เปี่ยมไปด้วยพระมหากรุณา ทรงเกรงว่าสรรพสัตว์ทั้งหลายที่ยังตกอยู่ใต้อำนาจของอินทรีย์ ๖ ถูกอารมณ์ทั้ง ๗ ครอบงำอยู่ และยังละทิ้งมูลสัจธรรมของตน จึงต้องเวียนเกิดเวียนตายไม่สิ้นสุด
พระองค์ทรงได้ประกาศมนต์มหากรุณาธาณีสูตรนี้ ผู้ใดสามารถปฏิบัติและยึดมั่นอยู่ใน
อนุตตรมรรคนี้ ย่อมสามารถที่จะข้ามพ้นห้อวงโอฆะ และสามารถพบความสุขอันเป็นนิรันดร์ได้
........................................................................................................................................................
ปางที่ ๖
หม่อฮอ เกียลู หมี่เกียเย
ปางที่ ๖ |
หมายความว่า ขอนอบน้อมคารวะ ต่อท่านผู้มีมหาการุณาจิต เมื่อเพ่งโลกเป็นความว่าง ความทุกข์ก็จะดับไปเอง สามารถข้ามห้วงแห่งโอฆะได้นี้ พระองคฺได้เตือนแก่ผู้ปฏิบัติธรรม ให้ปล่อยวางกายและใจ ให้หลีกพ้นจากภาพลวงทั้งหลาย ไม่มีตัวตน บุคคล สัตว์ เราเขา คือความเป็นอนัตตา ความเป็นอิสระ บำเพ็ญประโชนย์เพื่อบุคคลอื่นและสรรพสัตว์ ขณะเดียวกันต้องชำระจิตใจให้ขาวสะอาด ผ่องใส จนกระทั่งเกิดเป็นอุปนิสัย ย่อมสามารถบรรลุต้นทางแห่งองค์มรรคได้
.................................................................................................................................................