ปางที่ ๒๘
ตูลู ตูลู ฮัวแซเหย่ตี
ปางที่ ๒๘ |
ภาคนิรมาณกาย....พระโพธิสัตว์ได้นิรมาณกายเป็นพระอุครโพธิสัตว์ คุมทหารของมยุรราชไปปราบหมู่มารทั้งหลาย
คำแปล...."ตูลู ตูลู" แปลว่า ผู้ปฏิบัติธรรมจะต้องมีใจตั้งมั่นแน่วแน่ มีความสงบ ไม่ลุ่มหลงตกไปในมิจฉาทิฏฐิ...."ฮัวแซเหย่ตี" แปลว่า ความบริสุทธิ์และความมีพลังอันยิ่งใหญ่ของจิต สามารถที่จะข้ามพ้นจากสังสารวัฏฏ์ได้
อรรถว่า....พระโพธิสัตว์ทรงมุ่งแนะนำสั่งสอนผู้ปฏิบัติธรรม เพื่อให้ประจักษ์แจ้งรู้ชัดลักษณะสภาพธรรมตามความเปนจริง เร่งศึกษาปฏิบัติเพื่อความพ้นทุกข์ มีใจมั่นคงแน่วแน่ ไม่ท้อแท้เบื่อหน่ายในการฝึกอบรม
...................................................................................................................................................
ปางที่ ๒๙
หมอฮอ ฮัวแซ เหย่ตี
ปางที่ ๒๙ |
ภาคนิรมาณกาย....พระโพธิสัตว์ทรงนิรมาณกายเป็นแม่ทัพมหาพละ มือขวาถือคทาสำหรับคุ้มครองสัตว์โลกที่กำลังเพียรสร้างกุศลและปฏิบัติธรรมอยู่
คำแปล...."หมอฮอ ฮัวแซ เหย่ตี" แปลว่า พระสัทธรรมอันยิ่งใหญ่ไพศาล มีคุณสามารถระงับดับกิเลสได้ ภัยพิบัติต่าง ๆ ไม่เบียดเบียน...ทุกคนสามารถบรรลุพระธรรมในขั้นสูงสุดได้
อรรถว่า....พระคาถาบทนี้ มุ่งเพื่อขจัดความเห็นผิด ความเห็นว่าเป็นตัวตน สัตว์ บุคคล เพื่อละความยึดมั่นถือมั่นในธรรมะทั้งปวง....เมือ่จิตสะอาดบริสุทธิ์ปราศจาก โลภะ โทสะ โมหะ อันเป็นกิเลสที่เกิดจากเหตุปัจจัยปรุงแต่ง เหล่ามารทั้งหลายก็จะไม่กล้าที่จะรบกวนได้...เป็นผู้มีปรกติเจริญสติอยู่เสมอ สักวันหนึ่งจะเป็นผู้บรรลุมรรค ผล นิพพาน เมื่อเหตุปัจจัยปรุงแต่งจิตพร้อมแล้ว....และเมื่อนั้นท่านก็จะมีจิตเป็นพุทธะ
.................................................................................................................................................
ปางที่ ๓๐
ทอลาทอลา
ปางที่ ๓๐ |
ภาคนิรมาณกาย....พระองค์ได้ทรงนิรมาณกายเป็นพระมหาบุรุษ ทรงบำเพ็ญทุกขกิริยา คือการกระทำกิจอันทำได้ยากยิ่ง
คำแปล...."ทอลาทอลา" แปลว่า เป็นธารณี เมื่อปฏิบัติจนจิตผ่องใสสะอาดหมดจดจากกิเลสทั้งปวง เมื่อสิ้นจากความเป็นมนุษย์ในโลกนี้ ก็จะได้ไปปฏิสนธิในพรหมโลก
อรรถว่า....กิเลสอันเปรียบเสมือนฝุ่นละออง, ธุลี ซึ่งสามารถปิดบังความใสสะอาดของสภาวะธรรม ไม่ให้สามารถมองเห็นตามความเป็นจริงได้ ทำให้มีความเห็นผิด ยึดสภาพธรรมทั้งหลายว่าเป็นตัวตน เป็นเรา....
เมื่อจิตยึดความความคิดเห็นผิดเช่นนี้ ก็ยากที่จะเข้าถึงพระธรรมได้
...........................................................................................................................................